ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ของ นางสาว เมธาพร กิจธนโชค ได้ ณ บัดนี้เลยค่ะ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

บทที่13 การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด
องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย
1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance)
2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)
3.ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)
4.กำลัง (Power)
5.ความเร็ว (Speed)
6.ความคล่องตัว (Agility)
7.ความอ่อนตัว (Flexibility)
8.การทรงตัว (Balance)

บทที่12 การช่วยฟื้นคืนชีพ

การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ที่ได้รับอุบัติภัยหรือเจ็บป่วยกะทันหันโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายน้อยลง   ก่อนที่จะนำส่งโรง พยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาพยาบาลต่อไป
หลักการทั่วไปของการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

1. เมื่อพบผู้บาดเจ็บที่มีเลือดออก ควรห้ามเลือด
2. ถ้าผู้บาดเจ็บไม่มีเลือดออก ควรตรวจว่าร่างกายอบอุ่นหรือไม่ มีอาการช็อคตัวเย็นซีดหรือไม่ ควรห่มผ้าให้อบอุ่น หนุนลำตัวให้สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย
3. ควรตรวจว่าผู้ป่วยมีสิ่งของในปากหรือไม่ เช่น เศษอาหาร ฟันปลอม ถ้ามีให้รีบล้วงออก เพื่อ ไม่ให้ทางเดินหายใจอุดตันหรือสำลักเข้าปอด

บทที่11 สัมพันธ์ดี มีไมตรีเลี่ยงความขัดแย้ง

ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้
1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย
2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้
3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย
4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง
5.จิตใจดี มองโลกในแง่ดีมีความจริงใจให้แก่เพื่อน การแสดงออกต่อบุคคลอื่นจะเป็นเรื่องดีๆเป็นส่วนใหญ่ และเสมอต้นเสมอปลาย

บทที่10 สารเสพติดให้โทษ

  สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด
วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกประสบอยู่รวมทั้งประเทศไทย ในอดีตจะพบว่าการแพร่ระบาดนั้นจะอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานและกลุ่มเยาวชน ชุมชนแออัด ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันสารเสพติดกลับแพร่ระบาดเข้าไปสู่เยาวชนในสถานศึกษาแทน ซึ่งหากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว เยาวชนในสังคมทั่วประเทศไทยก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวงรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาเป็นปัญหาระดับนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเร่งสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมร่วมรับผิดชอบร่วมรณรงค์ ป้องกัน และให้ความรู้อย่างครอบคลุมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยแก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนมีความรู้ มีความเข้าใจและตระหนักถึงมหันตภัยของสารเสพติด เกิดเป็นเจตคติที่ดีที่จะดำเนินชีวิตให้ห่างไกลและปลอดภัยจากสารเสพติดทุกชนิดได้ด้วยตนเอง

บทที่10 การใช้ยา

                  หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 การใช้ยา
ความหมายของการใช้ยาและประโยชน์ของการใช้ยา
องค์อนามัยโลก (who) ได้ให้ความหมายของยาว่า ยา คือสารที่สารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หรืทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางทางการพยาธิวิทยา ซึ่งทำให้เกิดโรค ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก้ผู้รับยา
1.ในการรักษาโรคให้หายขาด ยาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย
2.การใช้ยาในการควบคุมหรือบรรเทาอาการ
3.การองกันใช้ในการป้องกันโรค
ประเภทของยา

บทที่8 ใส่ใจความปลอดภัย

บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพราะที่อยู่อาศัยของคนเรา ปกติแล้วในบ้านน่าจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุที่ไม่คาดคิดภายในบ้าน เช่น
1.การพลัดตกหกล้ม อาจเกิดขึ้นภายในบ้านและอาจทำให้บาดเจ็บ จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล้านี้ด้วย
1.1 ควรล้างห้องน้ำให้สะอาดเสมอไม่ให้ลื่น เพราะอาจทำให้ลื่นล้มในห้องน้ำได้ จนอาจหัวฟาดพื้นได้ จนถึงต้องเข้าโรงพยาบาล
1.2 การยกของขึ้นหรือลงบันได อย่าละสายตาจากทางเดินหรือยกของหนักจนเกินไป
1.3 ถ้าพื้นบ้านปูนหรือกระเบื้องน้ำหก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรเช็ดให้แห้งทันที
2. ภัยจากไฟฟ้า  ขณะนี้แทบจะ 100%ที่ทุกครั้งหลังใช้ไฟฟ้าใช้แล้ว จึงอาจเกิดเหตุที่อันตรายมาก เพราะเราไม่สามารถมองเห็นไฟฟ้าได้ และวิธีมีการป้องกันดังนี้
2.1 ถ้ามือเปียกหรือยืนในที่เปียก ก็ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
2.2 ควรติดเต้าเสียบให้สูงกว่าไม่น้อยกว่าพื้นประมาณ 1.20 เมตรเพื่อไม่ให้เด็กเล็กเข้าใกล้ได้
2.3 ควรใช้ฟิวส์ขนาดพอเหมาะกับวงจรไฟฟ้า
3. ภัยจากแก๊สหุงต้ม ภัยที่มักพบ ได้แก่แก๊สรั่ว แก๊สระเบิด ควรระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะก่อให้เกิดเหตุที่อันตราย

บทีที่7 สุขภาพชุมชน

   ความหมายและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ
                 การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีท้างทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
                 ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ
                 การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นระบบสุขภาพเป็นระบบสร้างนำซ่อม กล่าวคือเดิมสุขภาพเป็นระบบตั้งรับ คือรอให้เจ็บป่วยแล้วจึงนำมาซ่อมหรือนำมารักษา ทำให้ประชาชนคนไทยเจ็บป่วยและตายก่อนวัยอันควร เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก แต่แนวคิดปัจจุบันเป็นระบบเชิงรุก พยายามทำทุกวิถีทางที่จะสร้างสุขภาพให้มีสุขภาพดีให้มากที่สุด ซึ่งทุกคนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและมีการปฏิบัติตนหรือมีพฤติกรรมสุขภาที่ถูกต้องโดยมีการปฏิบัติที่ทำให้มีความสุขที่ดีและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงหรืองดการกระทำที่เสี่ยงหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการการระมัดระวังเรื่องอาหารการกินที่ปลอดภัย ไม่มีสารพิษปนเปื้อนการส่งเริมสุขภาพจิต การจัดการกับความเครียดด้วยตนเองการลดความเสี่ยงจากการป้องกันและหลีกเลี่ยงสารเสพติดและอบายมุขต่างๆ เป็นต้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในเรื่องสุขภาพ